กาฟักไข่
ความเป็นมา
กาฟักไข่เป็นกีฬาพื้นเมืองเก่าแก่ที่เล่นสืบเนื่องต่อกันมาเป็นเวลานานแล้วแต่ไม่ปรากฏหลักฐานว่ามีเล่นมาตั้งแต่เมื่อใด
พบว่ามีการเล่นกีฬากาฟักไข่กันแล้วในช่วงรัชสมัยรัชกาลที่ ๗ แห่งหรุงรัตนโกสินทร์
กาฟักไข่นิยมเล่นกันในจังหวัดต่างๆ ของภาคกลางสมัยก่อน เช่น นครปฐม กรุงเทพฯ
ธนบุรี และกาญจนบุรี เป็นต้น การเล่นกาฟักไข่เป็นการเล่นเลียบแบบชีวิตสัตว์ คือ กา
ซึ่งหวงไข่เมื่อมีคนมาแย่งไข่ก็จะป้องกันรักษาไข่ของตนไว้
ในภาคอื่นๆก็มีการเล่นที่มีลักษณะเหมือนกับกีฬากาฟักไข่เช่นกัน
แต่เรียกชื่อเป็นอย่างอื่น เช่น ภาคเหนือ เรียกว่า “แย่งไข่เต่า” ก็มี “ซ่อนไข่เต่า”
ก็มี ภาคตะวันออกเฉียงเหนือเรียกว่า “เต่าฟักไข่”
ภาคใต้เรียกว่า “จระเข้าฟาดหาง” บ้าง “ยั่วกระทิง” บ้าง
หรือเรียกว่ากระทิงก็มี เป็นต้น สมัยก่อนกีฬากาฟักไข่มักเล่นกันในงานขึ้นปีใหม่
เทศกาลตรุษสงกรานต์และงานรื่นเริงอื่นๆของชาวบ้าน เพื่อเป็นการออกกำลังกาย
สามานสามัคคีในหมู่คณะ และได้สนุกสนานร่วมกัน
ปัจจุบันการเล่นกาฟักไข่ยังคงมีเล่นอยู่โดยทั่วไป
ผู้เล่น
เล่นได้ทั้งเด็กและผู้ใหญ่ ทั้งชายและหญิง
อย่างน้อยควรมีผู้เล่น ๕-๖ คนขึ้นไป ไม่จำกัดจำนวนผู้เล่น ยิ่งมากยิ่งสนุกสนาน
เพราะสามารถแบ่งการเล่นออกเป็นหลายวงได้
อุปกรณ์การเล่น
กาบมะพร้าวเพื่อใช้สมมติเป็นไข่กา คนละ ๑ กาบ
ลูกตระกร้อเล็กๆขนาดผลส้มเขียวหวาน หรือจะใช้กิ่งไม้เล็กๆยาวประมาณ ๑ คืบแทนก็ได้
สถานที่เล่น
บริเวณลานดินกว้าง เช่น
ลานบ้าน ลานวัด กำหนดสนามเล่นโดยเขียนที่พื้นเป็นรูปวงกลม
ให้มีขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ ๓-๔ เมตร
วิธีเล่น
๑. ผู้เล่นทั้งหมดเสี่ยงเพื่อหาตัวผู้เป็นกาหนึ่งคน จากนั้นให้นำเอาวัตถุที่สมมติว่าเป็นไข่กา
จำนวนเท่ากับผู้เล่นทั้งหมด (ยกเว้นกา) มาวางกองรวมกันไว้ที่กลางวงกลม
ผู้เป็นกาจะคอยเฝ้าไข่กาไว้ มิให้ผู้เล่นคนหนึ่งคนใดมาแย่งเอาไปได้
๒. ผู้เล่นคนอื่นๆ
จะอยู่รอบๆวงกลม และหาโอกาสแย่งไข่กาออกจากวงกลม คนหนึ่งๆจะหยิบไข่กากี่ฟองก็ได้
แต่ต้องระวังอย่าให้ผู้เป็นกาถูกตัวได้ถ้ากาถูกตัวผู้ใดได้
ผู้นั้นจะต้องทำหน้าที่เป็นกาแทน ส่วนผู้เป็นกาอยู่เดิมจะออกมาเป็นผู้แย่งบ้าง
และไข่กาที่สามารถแย่งออกมาได้นั้น จ้องนำกลับคืนมาเริ่มเล่นใหม่
๓. ถ้าผู้เล่นสามารถแย่งไข่กาออกมาได้หมด
ต้องให้ผู้เล่นส่วนหนึ่งช่วยกันปิดตาผู้เป็นกา
อีกส่วนหนึ่งนำไข่กาไปซ่อนภายในขอบเขตบริเวณที่กำหนดไว้
เมื่อซ่อนเสร็จจึงเปิดตาผู้เป็นกาเพื่อให้ออกหาไข่กา
ขณะที่ผู้เป็นกาออกหาใข่กานั้น
ผู้เล่นคนอื่นๆจะต้องเดินตามผู้เป็นกามาด้วยเพื่อหยอกล้อผู้เป็นกา
แต่ต้องระวังเพราะถ้าผู้เป็นกาหาไข่กาพบและใช้ไข่กานั้นขว้างถูกผู้เล่นคนใด
ผู้เล่นคนนั้นจะต้องเป็นกาแทน และเริ่มเล่นใหม่ต่อไป
แต่ถ้าผู้เป็นกาขว้างไม่ถูกใครเลย ผู้เป็นกานั้นก็ต้องเป็นกาต่อไป
๔.
หากผู้เปากาหาไข่กาไม่พบและยอมแพ้ จะถูกผู้เล่นทุกคนช่วยกัน
จูงหูไปยังที่ซ่อนไข่กา เมื่อถึงที่ซ่อนไข่กาแล้ว
ถ้ากาสามารถใช้ไข่กาขว้างถูกผู้เล่นคนใดได้
ผู้เล่นคนนั้นก็จะต้องเป็นกาแทนและเริ่มเล่นใหม่ต่อไป แต่ถ้าขว้างไม่ถูกใครเลย
ผู้เป็นกาก็ต้องเป็นกาต่อไป
๕. ถ้าผู้เป็นกาคนเดียวกันถูกแย่งไข่กาได้หมดถึง
๓ ครั้งติดต่อกัน จะต้องถูกปรับให้นอนลง
แล้วผู้เล่นจะช่วยกันหามไปวางห่างจากวงประมาณ ๒๐ เมตร
ผู้เป็นกาจะต้องลุกขึ้นวิ่งไล่เเตะให้ถูกผู้เล่นคนใดคนหนึ่ง ถ้าแตะถูก
ผู้เล่นคนนั้นจะต้องเป็นกาแทน
ถ้าแตะไม่ถูกและผู้เล่นหนีเข้าวงกลมได้หมดุกคนเสียก่อน ผู้เป็นกาจะต้องเป็นกาต่อไป
๖.
ผู้เล่นคนใดเป็นกามากครั้งที่สุดจะถือว่าเป็นผู้แพ้
ผู้เล่นคนใดเป็นกาน้อยครั้งที่สุดหรือไม่เคยเป็นกาเลยจะถือว่าเป็นผู้ชนะ
กติกา
๑.
ผู้เป็นกาจะออกไปไล่แตะพ้นวงกลมหมดทั้งตัวไม่ได้ขณะที่ยังเฝ้าไข่อยู่
จะต้องมีมือหรือเท้าข้างใดข้างหนึ่งอยู่ในวงกลม
ถ้าออกพื้นวงกลมขณะที่ยังเฝ้าไข่กาอยู่จะถือว่าถูกแย่งไข่หมด
และดำเนินการเล่นขั้นตอนต่อไป
๒.
ผู้เล่นทุกคนต้องตกลงกันล่วงหน้าเกี่ยวกับขอบเขตบริเวณของการนำไข่ไปซ่อน
และอื่นๆเพื่อมิให้เกิดปัญหาในการเล่น
๓. ให้ผู้เล่นตัดสินกันเอง
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น