ขี่ม้าส่งเมือง

ขี่ม้าส่งเมือง
  
ความเป็นมา
                ขี่ม้าส่งเมืองเป็นกีฬาพื้นเมืองเก่าแก่ที่เล่นกันในจังหวัดต่างๆของภาคกลางในสมัยก่อน เช่น จังหวัดฉะเชิงเทรา กรุงเทพฯ ธนบุรี และราชบุรี เป็นต้น บางท้องถิ่นเรียกว่า ขี่ม้าลงเมืองบ้าง เทวดานั่งเมืองบ้าง เป็นต้น เป็นการเล่นที่มีมานาน อย่างน้อยที่สุดพบว่ามีการเล่นกีฬาขี่ม้าส่งเมืองกันแล้วในสมัยรัชกาลที่ ๖ ก่อน พ.ศ. ๒๔๖๗ ขี่ม้าส่งเมืองเป็นการเล่นเลียบแบบวิถีชีวิตประจำวันของชาวบ้านในสมัยโบราณที่ยังมีการปกครองในระบบเจ้าขุนมูลนาย มีเจ้าเมืองเป็นผู้มีอำนาจสั่งการ คอยรับฟังการร้องทุกข์ของราษฎร ตัดสินความ รวมทั้งเป็นการเล่นเลียบแบบการใช้ม้าเป็นพาหนะในการขี่ ขนส่งคนและสินค้าไปยังต่างแดนด้วย ชาวบ้านในสมัยก่อนนิยมเล่นขี่ม้าส่งเมืองในเทษกาลตรุษสงกรานต์และเล่นเป็นการสนุกสนานรื่นเริงในยามว่าง ปัจจุบันยังมีการเล่นกีฬาขี่ม้าส่งเมืองอยู่ แต่ผู้ใหญ่หรือคนหนุ่มสาวไม่ค่อยนิยมเล่นกันแล้ว กลายเป็นกีฬาของเด็กๆเล่นกันโดยทั่วไป
ผู้เล่น
                เล่นได้ทั้งหนุ่มสาวและเด็ก ทั้งชายและหญิง โดยแบ่งผู้เล่นออกเป็น ๒ ฝ่าย จำนวนผู้เล่นฝ่ายละเท่าๆกัน นิยมจัดให้ผู้เล่นชายและหญิงคละเคล้าอยู่ในแต่ละฝ่ายเป็นจำนวนเท่าๆกันด้วย เพื่อสะดวกในการขี่หลังกัน อย่างน้อยควรมีผู้เล่นฝ่ายละ ๔ ๕ คน น้อยเกินไปจะไม่ค่อยสนุก
อุปกรณ์การเล่น
                ไม่ใช้
 สถานที่เล่น
                บริเวณลานกว้างทั่วไป เช่น ลานวัด ลานบ้าน หรือลานกว้างใต้ต้นไม้ใหญ่ เป็นต้น โดยกำหนดเขตแดนของแต่ละฝ่ายเป็นเส้นตรงยาว ห่างหันประมาณ ๑๕ ๒๐ เมตร
วิธีเล่น
                ๑. หัวหน้าของผู้เล่นแต่ละฝ่ายตกลงกันฝ่ายใดจะเป็นฝ่ายเริ่มเล่นก่อน เมื่อตอกลงกันแล้วให้ผู้เล่นทั้ง ๒ ฝ่ายไปยืนยังเขตแดนของตนเอง ให้มีกรรมการคนหนึ่งอยู่ตรงกึ่งกลางระหว่างเขตแดนทั้ง ๒ ฝ่าย สมมติให้เป็นเจ้าเมืองหรือเทวดา
                ๒. เริ่มเล่นโดยฝ่ายที่ได้เล่นก่อนปรึกษาหารือกันว่าจะส่งใครออกไปกระซิบก่อน และจะเลือกชื่อของผู้เล่นคนใดของฝ่ายตรงข้าม และจึงส่งผู้เล่นออกไปกระซิบบอกชื่อของผู้เล่นฝ่ายตรงข้ามหนึ่งคนต่อเมืองที่อยู่ตรงกลางเมื่อกระซิบบอกแล้วให้เดินกลับแดนตน ฝ่ายที่เล่นทีหลังจะต้องปรึกษาหารือกันว่าจะส่งผู้เล่นคนใดออกไปจึงจะไม่ตรงกับชื่อที่ฝ่ายแรกมากระซิบบอกเจ้าเมืองไว้ และจะเลือกชื่อของผู้เล่นคนใดในฝ่ายตรงข้ามเพื่อกระซิบบอกเจ้าเมือง เมื่อตกลงกันแล้วก็จะส่งผู้เล่นหนึ่งคนออกไปกระซิบบอกชื่อผู้เล่นฝ่ายตรงข้ามแก่เจ้าเมือง ทั้ง ๒ ฝ่ายจะผลัดกันส่งคนออกไปกระซิบเจ้าเมือง ฝ่ายละครั้งเช่นนี้เรื่อยไป
                ๓. ฝ่านใดส่งผู้เล่นของตนออกไปหาเจ้าเมืองตรงกับชื่อที่อีกฝ่ายหนึ่งบอกไว้ครั้งสุดท้าย จะถือว่าฝ่ายนั้นเป็นผู้แพ้ ฝ่ายที่กระซิบบอกถูกจะได้ขี่หลังฝ่ายแพ้ จากแดนหนึ่งไปยังอีกแดนหนึ่ง แล้วจึงเริ่มเล่นใหม่ต่อไป
                ๔. ฝ่ายใดชนะมากครั้งกว่า ภายในเวลาที่กำหนดกันไว้หรือจำนวนครั้งเล่นที่กำหนดกันไว้ จะถือว่าเป็นผู้ชนะในการเล่นครั้งนั้น
                ๕. บางท้องถิ่นจะมีวิธีการกระซิบเรียกสิ่งอื่นแทนชื่อ เช่น อาจมีการตกลงกันว่าให้ทายชื่อดอกไม้ ต้นไม่ หรือจังหวัด เป็นต้น แล้วผลัดกันเป็นฝ่ายกระซิบบอกก่อน สมมติว่าฝ่าย ก. มากระซิบบอกเจ้าเมืองเป็นชื่อต้นไม้จามที่ตกลงกัน เช่น บอกว่าต้นกล้วย อีกฝ่ายจะต้องส่งคนผลัดกันมากระซิบทายกับเจ้าเมืองว่าเป็นต้นไม้อะไร ถ้าทายหมดทุกคนแล้วยังไม่ถูก ฝ่ายทายจะเป็นฝ่ายแพ้ ฝ่ายกระซิบบอกก่อนจะเป็นฝ่ายชนะ ฝ่ายแพ้จะถูกฝ่ายชนะขี่หลัง ๑ เที่ยว แต่ถ้าฝ่ายทายกระซิบบอกถูก ฝ่ายบอกก่อนจะเป็นฝ่ายแพ้ เมื่อจบการเล่นแต่ละครั้งจะต้องผลัดก่อนเป็นฝ่ายบอกและฝ่ายทาย เช่นนี้เรื่อยไปฝ่ายใดชนะมากครั้งกว่าในเวลาที่กำหนดไว้ จะเป็นผู้ชนะในการแข่งขันครั้งนั้น
กติกา
                ๑. แต่ละฝ่ายจะต้องยืนอยู่ในแดนของตนเอง จะออกเดินมาหาเจ้าเมืองก่อนที่อีกฝ่ายจะกระซิบเสร็จแล้วและเดินกลับไม่ได้ ฝ่ายที่ฝ่าฝืนกติกาจะถือว่าเป็นฝ่ายแพ้ทันที
                ๒. ให้ผู้เป็นเจ้าเมืองเป็นกรรมการ ทำหน้าที่ควบคุมการเล่นและตัดสินผลการแข่งขัน




















ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น